การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS
SPSS โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows (Statistic Package for Social Sciences for Windows)เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยและเป็นโปรแกรมที่จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ การทำงานแต่ละอย่างใช้เพียงแต่ใช้เมาส์ชี้คำสั่งต่างๆ ตามต้องการ แล้วคลิกเมาส์เท่านั้น
การเข้าสู่การทำงานของโปรแกรม SPSS ให้คลิก Icon SPSS ที่ Desktop หรือที่ Start เลือก All Program คลิกที่ Program SPSS ก็จะปรากฏหน้าต่างของ SPSS
1. SPSS มีแถบเมนู Data View และVariable View
2. การสร้างแฟ้มข้อมูล
o การสร้างแฟ้มข้อมูล คือ การบันทึกข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ลงในโปรแกรม SPSS
o Data View
o Variable View
การสร้างแฟ้มข้อมูลมีขั้นตอน ดังนี้ SPSS Data Editor Variable View จะปรากฏวินโดวส์ของ Variable View ดังนี้
ขั้นที่ 1. การตั้งค่าต่างๆ ลงใน Variable View โดยมีเมนูย่อย ดังนี้
1. Name ใช้สำหรับตั้งชื่อตัวแปร เช่น เพศ
2. Type ใช้สำหรับกำหนดชนิดของตัวแปร
3.Numeric เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข
4. Comma เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และโปรแกรม จะใส่เครื่องหมาย Comma Dot เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และมี Comma หนึ่งอัน สำหรับคั่นทศนิยม และโปรแกรม SPSS จะใส่เครื่องหมาย (.) คั่นเลขหลักพัน Scientific Notation เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และสัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น 22 E-2. Date เป็นตัวแปรชนิดวันที่ คือ ข้อมูลอยู่ในรูป วัน เดือน ปี Dollar เป็นตัวแปรที่มีเครื่องหมาย $ มีจุด 1 จุด สำหรับทศนิยม มี comma สำหรับคั่นเลขหลักพัน Custom Currency สกุลเงินที่ผู้ใช้กำหนดเอง String เป็นตัวแปรที่มีค่าเป็นตัวอักษร ( ข้อความ )
5. Width คือ ความกว้างของข้อมูลโดยรวมจุดและจำนวนหลักหลังจุดทศนิยมด้วย สามารถกำหนดความกว้างของข้อมูลได้สูงสุด 40 หลัก
6. Decimals คือ จำนวนหลักหลังจุดทศนิยม กำหนดทศนิยมได้สูงสุด 10 หลัก
7. Label เป็นส่วนที่ใช้อธิบายความหมายชื่อตัวแปร เนื่องจากการกำหนดชื่อตัวแปรที่ Name กำหนดได้เพียง 8 ตัวอักษร เพื่อประโยชน์ตอนแสดงผลลัพธ์
8. Values กรณีที่ข้อมูลเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ต้องกำหนดค่าตัวเลข (Value) และ Value Label เพื่ออธิบายความหมายที่แท้จริงของตัวเลขนั้น เช่น คำถามเกี่ยวกับ เพศ ( เป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ) มีคำตอบให้เลือก ดังนี้ เพศชาย เพศหญิง ถ้าผู้ตอบคำถามเป็น เพศชาย กำหนดให้เพศชายมีค่าเป็น 1 ดังนั้น Value จะใส่ 1 Value Label จะใส่ ชาย ถ้าผู้ตอบคำถามเป็น เพศหญิง กำหนดให้เพศหญิงมีค่าเป็น 2 ดังนั้น Value จะใส่ 2 Value Label จะใส่ หญิง
9. Missing เป็นการกำหนดค่าที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ผู้วิจัยเลือก Discrete Missing Values แล้วพิมพ์ตัวเลขลง ใช้แทนความหมายบางค่าที่ไม่สมบูรณ์ เช่น 9, 99, 999 คำถามเกี่ยวกับเพศ มีคำตอบให้เลือกดังนี้ เพศชาย เพศหญิง โดยผู้วิจัยจะกำหนดค่าที่เป็นไปไม่ได้สูงสุดของตัวแปรนั้นมาเป็นรหัส คือ 9
10. Columns เป็นการกำหนดความกว้างของ Column Align เป็นการกำหนดให้ค่าของข้อมูลแสดงชิดซ้าย ขวา หรือกลาง
11. Measure การกำหนดลักษณะข้อมูลว่าเป็น Scale, Ordinal หรือ Nominal Scale คือ ข้อมูลที่ใช้วัด Ordinal คือ เลขแสดงลำดับ Nominal คือ ข้อมูลนามบัญญัติ
ขั้นที่ 3. เมื่อผู้วิจัยกำหนด Variable View เรียบร้อยแล้ว ให้กลับมาที่ Data View เพื่อพิมพ์ค่าของข้อมูลต่างๆ หมายเหตุ : บันทึกแฟ้มข้อมูลทุกครั้งด้วย File Save
การวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อผู้ทำการวิจัยจัดการกับข้อมูลเสร็จแล้ว จะวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละด้าน ก็ให้คลิกที่แถบคำสั่ง Transform เลือก compute แล้วดำเนินการจัดการกับข้อมูลตามแบบสอบถาม แต่ละด้าน แล้วเลือก OK ก็จะได้ทราบค่าสถิติเบื้องต้น
การนำเสนอข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น วิธีการทางสถิติที่นิยมใช้กันมาก คือ
- การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางทางเดียว
- การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางหลายทาง
- การแจกแจงความถี่ในรูปของกราฟ
- การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาโดยโปรแกรม SPSS
การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางทางเดียว เป็นการแจกแจงข้อมูลโดยใช้ ตัวแปรเพียงตัวเดียว
ขั้นที่ 1. เลือกเมนูและคำสั่งตามลำดับ ดังนี้ Analyze Frequencies จะปรากฏวินโดวส์ของ Frequencies ดังนี้ Descriptive Statistics
ขั้นที่ 2. เลือกตัวแปรที่ต้องการศึกษาไปไว้ในบ๊อกซ์ของ Variable(s)
ขั้นที่ 3. คลิกที่ปุ่ม OK จะปรากฏผลลัพธ์ในวินโดวส์ Output
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS Valid คือ ข้อมูลที่นำมาแจกแจงความถี่ Missing คือ ข้อมูลที่ขาดหายไปหรือไม่สมบูรณ์ Total คือ ข้อมูลทั้งหมดที่นำมาแจกแจงความถี่ Frequency คือ ค่าที่แสดงจำนวน หรือความถี่ที่นับได้ Percent คือ ค่าที่แสดงจำนวน หรือความถี่ที่นับได้ ในรูปร้อยละ Valid Percent คือ ค่าที่แสดงจำนวนที่นับได้ในรูปร้อยละ โดยไม่นำจำนวนข้อมูลที่เป็น missing มารวม Cumulative Percent คือ ค่าที่แสดงจำนวนสะสมในรูปร้อยละ โดยนำจำนวนข้อมูลที่เป็น missing มารวม ความหมายของผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS
- การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น
- การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
- ค่าเฉลี่ย (Mean)
- ฐานนิยม (Mode)
- มัธยฐาน (Median)
- การวิเคราะห์การกระจายของข้อมูล
- พิสัย (Range)
- ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (Quartile Deviation)
- ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Average Deviation)
- ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
- สัมประสิทธิ์การแปรผัน (Coefficient of Variation)
สรุปความรู้การใช้โปรแกรมspss
1.กำหนดค่าใน variable view
-name-พิมพ์ใส่ชื่อ เพศ,a1,a2,......,d3
-width-ระบุตัวเลขความกว้างที่ต้องการ
-deimals-เลือกจุดทศนิยมที่ต้องการ (0)
-value-ใส่ค่า 1-น้อยที่สุด 2-น้อย 3-ปานกลาง 4-มาก 5-มากที่สุด
2.พิมพ์ข้อมูลใส่ใน data view ตามลำดับข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมด(20 ชุด)
3.การวิเคราะห์ข้อมูล
-transform-compute-พิมพ์หัวข้อ taใน target variable
-เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [a1,a2,a3,a4]/4 คลิก ok
-transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tbใน target variable
-เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [b1,b2,b3,b4]/4 คลิก ok
-transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tcใน target variable
-เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [c1,c2,c3,c4]/4 คลิก ok
-transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tdใน target variable
-เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [d1,d2,d3]/3 คลิก ok
-คลิก analyze-descriptive statistic - frequencies คลิกเลือกหัวข้อเพศ,a1,a2,...d3
แล้วคลิก ok แสดงประมวลผลการใช้ใช้โปรแกรม SPSS
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น